แถลงข่าวการพัฒนานวัตกรรมเครื่องจักรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษเหลือทิ้งน้ำมันมะพร้าว
การแถลงข่าวการพัฒนานวัตกรรมเครื่องจักรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษเหลือทิ้งน้ำมันมะพร้าว วันที่ 25 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมเฉวง ชั้น 3 วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดโดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และวิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย
นายเอกพงษ์ มุสิกะเจริญ ผอ.กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงานเเถลงข่าว กล่าวว่า
ตามที่ท่าน รมว.อว. มีนโยบายด้านการวิจัยและนวัตกรรม คือ “วิจัย-นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” เน้นประเด็นสำคัญของประเทศ ได้แก่ Go Green พอเพียง ความยั่งยืน (Sustainability) ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) พลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมีทั้งมิติที่ทำเพื่อความเป็นเลิศ และมิติเพื่อสร้างความมั่นคงของชีวิตและเศรษฐกิจ โดย อว. จะเน้นหลักการสำคัญ คือ “เอกชนนำ รัฐสนับสนุน” โดยให้เอกชนผู้ที่จะใช้ประโยชน์เป็นผู้กำหนดทิศทางว่าควรจะทำเรื่องอะไร อย่างไร หลังจากนั้นหน่วยงาน ภายใต้สังกัด อว. จะเข้าไปดำเนินการและสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง อย่างเช่น “การพัฒนาสร้างเครื่องจักรที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษเหลือทิ้งจากการผลิตน้ำมันมะพร้าว” ที่แถลงข่าวความสำเร็จในวันนี้ ที่เกิดจากการเสนอประเด็นปัญหาของผู้ประกอบการในพื้นที่เกาะสมุยเนื่องจากกระบวนการผลิตน้ำมะพร้าวจะมีเศษวัสดุเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก เช่น กะลามะพร้าว และเปลือกมะพร้าว ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เกิดมลพิษทางทัศนียภาพ จึงร้องขอให้ทาง อว. เข้ามาช่วยพัฒนาเครื่องจักรเพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าว โดยการพัฒนาสร้างเครื่องจักรดังกล่าว เป็นการแปรรูปเปลือกมะพร้าวให้กลายเป็นวัสดุทดแทนไม้ซึ่งอยู่ในรูปของถาดเสิร์ฟอาหารว่าง เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเกาะสมุย และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรม นำมาแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
สุดท้ายนี้ ผมขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับความสำเร็จในการพัฒนาสร้างเครื่องจักรที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษเหลือทิ้งจากการผลิตน้ำมะพร้าว ภายใต้โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่าในครั้งนี้ และใคร่ขอความร่วมมือทุกภาคส่วน ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานฝีมือคนไทยให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้างต่อไป และกระทรวง อว. ยังคงมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาและองค์กรธุรกิจ ที่มุ่งสร้างสรรค์ผลงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับประเทศ ต่อไป
OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA
ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผอ.กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นผู้กำกับดูแลโครงการ กล่าวถึง
ที่มาของการวิจัยพัฒนาสร้างเครื่องจักรที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษเหลือทิ้งจากการผลิตน้ำมันมะพร้าว นั้น สืบเนื่องมาจาก การลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน U2T ณ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ของท่านดนุช ตันเทอดทิตย์ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้รับฟังปัญหาจากผู้ประกอบการในพื้นที่ โดยสถานประกอบการได้เสนอปัญหาเรื่องเศษเหลือทิ้งจากการผลิตน้ำมันมะพร้าว ที่มีจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เดิมมีผู้รับซื้อไปทำที่นอน แต่ปัจจุบันผู้รับซื้อได้ลดลงอย่างมากการขนส่งเพื่อนำไปกำจัดภายนอกเกาะมีค่าใช้จ่ายสูง ท่านเลขาฯ จึงมีนโยบายให้ทางกระทรวง อว. หานักวิจัยเข้ามาช่วยพัฒนาเครื่องจักรที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือทิ้งจากมะพร้าวเหล่านี้ เพื่อป้องกันการเผาซึ่งจะทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และธุรกิจท่องเที่ยว จึงทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒ นาแนวทางการแก้ไข ปัญ หา โดย กปว.สป.อว. ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รับโจทย์และไปวิจัยพัฒนาจนได้เครื่องจักรที่นำมาติดตั้งและเปิดตัวในวันนี้
ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ รองคณบดีวิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย สรุปแนวทางการดำเนินงานและภาพรวมความสำเร็จเพื่อประสานความร่วมมือและต่อยอดผลงาน
พร้อมเวทีให้ผู้เข้าร่วมงานให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาเกี่ยวกับการปรับดีไซน์และความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการเพิ่มจำนวนเครื่องจักรเพื่อรองรับการผลิต ให้เพียงพอต่อความต้องการในกลุ่มโรงแรม สปา หรือสนามบิน นอกจากนี้ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลสมุย ยินดีในการเปิดพื้นที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิลนี้ เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของเกาะสมุยในด้านสิ่งแวดล้อม สร้างโอกาสใหม่ๆ และเสริมสร้างสินค้าส่งออกจากขยะเปลือกมะพร้าว เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการ นักวิชาการ และหน่วยงานต่างๆ
การพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยลดขยะ แต่ยังสร้างโอกาสในการสร้างรายได้และยกระดับเศรษฐกิจของเกาะสมุยให้ดียิ่งขึ้น.