ปรัชญา
สร้างปัญญา เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ปรัชญาการศึกษา

“การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้ควบคู่กับการพัฒนาทักษะวิศวกรสังคมโดยใช้ฐานทรัพยากรการเรียนรู้ในชุมชนหรือพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย”
โดยมีคำอธิบาย ดังนี้
วิศวกรสังคม มีทักษะ 4 ประการ คือ นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนวัตกร

  • นักคิด หมายถึง การมีทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุ–ผล เห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย
  • นักสื่อสาร หมายถึง มีทักษะในการสื่อสาร สื่อสารองค์ความรู้เพื่อการแก้ปัญหา
  • นักประสาน หมายถึง มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้งระดมสรรพกำลัง ทรัพยากรเพื่อการแก้ปัญหา
  • นวัตกร หมายถึง มีทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยมีแผนการขับเคลื่อนให้นักศึกษาลงพื้นที่ในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
  • พื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง

ค่านิยมหลักองค์กร
สร้างปัญญาศรัทธาความดี

วิสัยทัศน์
มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินด้วยภูมิปัญญาให้เป็นพลัง ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เอกลักษณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ปณิธาน
องค์กรต้นแบบแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

วัฒนธรรมองค์กร
SRU Sharing : ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแบ่งปัน ร่วมภาคภูมิใจ

พันธกิจ

  1. แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล
  2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คู่คุณธรรม มีสำนึกความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้สมาชิกในชุมชนท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ
  3. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในวัฒนธรรมไทย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น และประเทศชาติโดยรวม
  4. เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และนักการเมืองให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย มีคุณธรรมจริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
  5. เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
  6. ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดทั้งองค์อื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
  7. ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของสมาชิกในชุมชนท้องถิ่นโดยใช้ศาสตร์พระราชา รวมถึงการแสวงหาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
  8. ศึกษาวิจัย ส่งเสริม และสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

จากวิทยาลัยครู สู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

  • พ.ศ. 2516 เริ่มก่อตั้งขึ้นเป็น “วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี” ตามนโยบายและเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (2515 – 2516)
  • พ.ศ. 2519 เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกเข้าศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.)
  • พ.ศ. 2520 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู
  • พ.ศ. 2518 และสภาการฝึกหัดครู ได้ออกประกาศแบ่งส่วนราชการ ลงวันที่ 19 พฤษภาคม
  • พ.ศ. 2520 ดังนี้
    1. สำนักงานอธิการบดี
    2. คณะวิชาครุศาสตร์
    3. คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    4. คณะวิชาวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2521 เปิดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง)
  • พ.ศ. 2522 เปิดโครงการการอบรมบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.) ในวันเสาร์-อาทิตย์ นักศึกษา อคป. ได้รับปริญญาครุศาสตรบัณฑิต เป็นรุ่นแรก
  • พ.ศ. 2523เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สขาครุศาสตร์ และงดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา
  • พ.ศ. 2525 เปิดศูนย์บรมขึ้นที่วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดชุมพร และเปิดสอนวิชาเอกพลศึกษาภาคปกติ เป็นโครงการร่วมมือกับวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชุมพร
  • พ.ศ. 2526 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพ (ป.ทอ.) ภาคสมทบ
  • พ.ศ. 2527 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพ (ป.ทอ.) เข้าศึกษาในภาคปกติ
  • พ.ศ. 2528 วิทยาลัยขยายฐานทางการศึกษากว้างขึ้น เนื่องจากพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2527 กำหนดให้วิทยาลัยจัดการศึกษาในสาขาอื่นได้ จึงเปิดรับนักศึกษาระดับอนุปริญญา และระดับปริญญาตรีนอกเหนือจากสาขาครุศาสตร์ ในปีนี่สภา การฝึกหัดครูได้ออกบังคับว่าด้วยกลุ่มวิทยาลัยครู จึงส่งผลให้กลุ่มวิทยาลัยครูพัฒนา เป็นสหวิทยาลัยในภาคใต้ จึงมีสภาวิทยาลัยทักษิณขึ้น ประกอบด้วย วิทยาลัยครู ทั้งหมดที่มีในภาคใต้ 5 แห่งมีสำนักงานของสหวิทยาลัยที่วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี และได้เปิดรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนตัน และตอนปลาย ข้าเรียนในโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานีเป็นรุ่นแรก
  • พ.ศ. 2530 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 ลงวันที่ 17 เมษายน
  • พ.ศ. 2530 ให้แบ่งส่วนราชการของวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี ดังนี้
    1. สำนักงานอธิการบดี
    2. คณะวิชาครุศาสตร์
    3. คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    4. คณะวิชาวิทยาการจัดการ
    5. คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    6. ศูนย์วิจัยและบริการการศึกษา
    7. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
    8. สำนักกิจการนักศึกษา
    9. สำนักวางแผนและพัฒนา
    10. สำนักส่งเสริมวิชาการ
  • พ.ศ. 2532 วิทยาลัยยังคงรับนักศึกษาและนักเรียนเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ในส่วนของการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ ได้เปิดศูนย์อบรมขึ้นที่โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร
  • พ.ศ. 2533 มีโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศแคนาดากับวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาโปแกรมวิชาวิทยาการจัดการมีระยะเวลา 3 ปี อนึ่ง ในปีนี้วิทยาลัยได้เปิด วิชาเอกวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภาคปกติ โดยร่วมมือกับวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชุมพร อีกด้วย
  • พ.ศ. 2534 การจัดการศึกษสำหรับบุคลกรประจำการซึ่งมีศูนย์อบรมที่จังหวัดชุมพรนั้น ได้เปลี่ยนไปดำเนินการที่โรงเรียนศรียภัย ในปีนี้วิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของรัฐบาลญี่ปุ่น CA) จัดโครงการทดลองการจัดตั้งศูนย์ศึกษาประจำภูมิภาคขึ้นที่วิทยาลัย เพื่อพัฒนาอาจารย์ของสหวิทยาลัยทักษิณ ด้านเคมีและคอมพิวเตอร์
  • พ.ศ. 2535 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามวิทยาลัยครูว่า “สถาบันราชภัฏ”
  • พ.ศ. 2536 ในปีนี้สาขาศิลปศาสตร์ได้เปิดรับนักศึกษาวิชาเอกนิเทศศาสตร์ ระดับปริญญาตรี และสาขาวิทยาศาสตร์ เปิดรับนักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา ระดับอนุปริญญา และวิชาเอกเกษตรศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี เพิ่มขึ้น
  • พ.ศ. 2538 มีประกาศใช้พระราชบัญญัติถาบันราชภัฏ พศ. 2538 และสถาบันราชภัฏสุราษฏร์ธานีได้ดำเนินภารกิจตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 โดยยังคงเปิดรับนักศึกษาและนักเรียนเช่นเดียวกันกับปีที่ผ่านมา
  • พ.ศ. 2540 สถาบันราชภัฏสุราษฎร์รานึ งดรับนักเรียนสาธิต เนื่องจากสถาบันมีนโยบายที่จะขยายฐานการศึกษา จกระดับปริญญาตรีไปจนถึงปริญญาโท ประกอบกับแนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเปลี่ยนไป
  • พ.ศ. 2542 สถาบันได้จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย และเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโทเป็นครั้งแรก โดยเปิดสอนในสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  • พ.ศ. 2543 ปรับปรุงโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) เป็นโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรท้องถิ่น (กศ.บท.) เพื่อเปิดรับบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดอาชีพ และเปิดศูนย์ให้กรศึกษานอกสถาบันเพิ่มขึ้นอีก 1 ศูนย์ คือ ศูนย์ให้การศึกษานอกสถาบัน จังหวัดระนอง
  • พ.ศ. 2544 สถาบันเปิดรับนักศึกษาทั้งภาคปกติ ภาคสมทบ และโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรท้องถิ่น (กศ.บท) และในปีนี้ได้เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการศึกษา เพิ่มขึ้นอีก 1 สาขา
  • พ.ศ. 2545 สถาบันเปิดรับนักศึกษาภาปกติ โดยขยายฐานในสาขาวิทยาศาสตร์มากขึ้นลดการผลิตในสาขาการศึกษาเหลือเพียงหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู และงดรับนักศึกษาภาคสมทบโดยปีนี้ได้เปิดศูนย์ให้กรศึกษานอกสถาบันเพิ่มอีก 1 ศูนย์ ที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเปิดรับนักศึกษาปริญญาโทเพิ่มอีก 1 สาขา คือ สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา และได้มีการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับการเป็นมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2546 สถาบันได้มีการพัฒนาเพื่อเตรียมการเป็นมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์ ทั้งในส่วนของการขยายฐานการจัดการศึกษาเพิ่มขึ้นอีกหลายสาขา ทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา
  • พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระปมินทรมหาภูมิพลอดลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ วันที่ 9 มิถุนายน 2547 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 จึงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 เป็นต้นไป ทำให้สถาบันราชภัฏทั้ง 41 แห่ง ทั่วประเทศ มีสถานภาพเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” มีความเป็นอิสระและเป็นนิติบุคคล เป็นส่วนราชการตมกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2548 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษริการออกกฎหมายกระทรวงให้จัดตั้งส่วนราชการ ดังนี้
  1. สำนักงานอธิการบดี
  2. คณะวิชาครุศาสตร์
  3. คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  4. คณะวิชาวิทยาการจัดการ
  5. คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  6. สถาบันวิจัยและพัฒนา
  7. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  8. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  9. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  10. วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว
  • พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินการเปิดคณะใหม่ 2 คณะ คือ คณะนิติศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ และรับนักศึกษาเป็นรุ่นแรก พร้อมทั้งเปิดหลักสูตรอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ธุรกิจการบิน) หลักสูตรภาษาอังกฤษ
  • พ.ศ. 2553 เปิดการเรียนการสอน สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ธุรกิจการบิน) ที่วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว อำเภอกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเปิดสอนในระดับปริญญาเอกหลักสูตรครุศสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา
  • พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยได้มีการปรับวิสัยทัศน์ จากเดิมเป็น “มหาวิทยาลัยต้นแบบแห่งประชาคมอาเซียน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” และ พ.ศ. 2556 มีการกำหนด “นโยบาย 5 สร้าง 3 พัฒนา สู่การเป็น มหาวิทยาลัย 5 มิติ” โดยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล และมีการจัดตั้งสถาบันภาษา เพื่อทำหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ และพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาและบุคลากร
  • พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดตั้งโครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาและพัฒนา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและแหล่งอ้างอิงทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนศึกษา
  • พ.ศ. 2557 เปิดหลักสูตรการจัดการภัยพิบัติ และหลักสูตรการจัดการค้าปลีก
  • พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการปิดศูนย์กรศึกษานอกพื้นที่ จังหวัดระนอง และคณะวิทยาการจัดการ ได้ดำเนินการเปิดหลักสูตรธุรกิจการเกษตร และหลักสูตรการจัดการธุรกิจอาหาร
  • พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการย้ายอาคารบรรณราชนครินทร์ (หอสมุดหลังเก่า) และทำพิธีเปิดอาคารหอสมุดและศูนย์สารสนเทศเฉลิมพระเกียรติ (หลังใหม่) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560
  • พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยได้มีกรปรับวิสัยทัศน์ จากเดิม “มหาวิทยาลัยต้นแบบแห่งประชาคมอาเซียนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็น “มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินด้วยภูมิปัญญาให้เป็นพลัง ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และปรับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยจากเดิม “มุ่งส่วนรวม มีวินัย ใฝ่รู้ สู้งาน” เป็น “มีคุณธรรม เลิศล้ำปัญญา จิตอาสา ใฝ่รู้ สู้งาน” และย้ายอาคารสำนักงานอธิการบดีหลังเก่า และทำพิธีเปิดอาคารสำนักงานอธิการบดีหลังใหม่ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 และเป็นวันราชภัฏ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยถือเป็นการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยเช่นกัน
  • พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นเจ้าภาพการแบ่งขันกีฬาบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กีฬา สกอ.) ครั้งที่ 38 “ขุนเลเกมส์” จัดพิธีการแข่งขันโดยมี นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นประธานในพิธีปิดสนาม โดยมีคำขวัญประจำการแข่งขัน “เชียร์ให้แรง แข่งให้หรอย” มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งสิ้น 58 สถาบันจากทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีมติเลือก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม และเสนอเรื่องเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  และมีการเปิดการเรียนการสอนสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและสาขาวิชาการจัดการโรงแรม (หลักสูตรนานาชาติ)
  • พ.ศ. 2565 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงานทดแทน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565) เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปะการประกอบอาหารไทยและอาหารนานาชาติ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565)
  • พ.ศ. 2567 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในการประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 มีมติให้จัดตั้ง “วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย” เป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะ