ติดตั้งเครื่องอัดขึ้นรูปขุยมะพร้าว แปรรูปเปลือกมะพร้าวให้กลายเป็นวัสดุทดแทนไม้ หวังเพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือทิ้งจากเปลือกมะพร้าว เกาะสมุย
วิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เอ็มเทค สวทช.)
31 กรกฎาคม 2567 ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ รองคณบดีวิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย พร้อมด้วย คณาจารย์และบุคลากร พบปะพูดคุยอัพเดทการดำเนินงานการพัฒนาสร้างเครื่องจักรที่เพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือทิ้งจากเปลือกมะพร้าว เกาะสมุย ร่วมกับ ดร.ศุภกิจ วรศิลป์ชัย นักวิจัย ทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ พร้อมคณะทำงาน ทีมวิจัยได้ทำการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษเหลือทั้งจากน้ำมันมะพร้าว เพื่อใช้ในการแปรรูป โดยเครื่องจักรที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถแปรรูปเปลือกมะพร้าวให้กลายเป็นวัสดุทดแทนในไม้ซึ่งอยู่ในรูปของถาด โดยในการขึ้นรูปถาดนั้นใช้เวลาประมาณ 3 นาทีต่อชิ้น หรือประมาณ 38,000 ชิ้นต่อปี คิดเป็นมูลค่าทดแทนถาดพลาสติกได้ 1,520,000 บาท และเป็นการ upcycle เปลือกมะพร้าวโดยไม่ต้องเผาได้ราว 11 ตันต่อปี นับเป็นปริมาณ carbon capture ได้ประมาณ 16 กรัมต่อขึ้น หรือประมาณ 600,000 กรัม/ปี และลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะได้ 163,600 บาท/ปี รวม 1,683,600 บาท/ปี
ในครั้งนี้ MTEC ได้ทำการส่งมอบและติดตั้งเครื่องอัดขึ้นรูปขุยมะพร้าว ณ โรงเรือนติดตั้งเครื่องจักรวิทยาลัยสหวิทยาการ เกาะสมุย โดยมีโมเดลต้นแบบของถาดเสิร์ฟอาหารว่างที่ขึ้นรูปสำเร็จแล้วมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไป